การรับมือวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียของกลุ่มรัตนรักษ์ ของ ชวน รัตนรักษ์

ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ธุรกิจการธนาคารของประเทศไทยได้เกิดขึ้นอย่างมั่นคง ภายหลังธนาคารระบบอาณานิคมล่าถอยในช่วงสงครามโลกต่อเนื่องจากครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 2 ภายใต้กฎหมายที่ปกป้องธนาคารไทยอย่างเต็มที่ เสริมสร้างระบบธนาคารให้เข็มแข็ง กลายเป็นแกนกลางของธุรกิจในเวลาต่อมา [16] โดยในช่วงปีพ.ศ. 2523-2533 ซึ่งถือเป็นยุคทองของธุรกิจการค้าของประเทศไทย การขยายตัวของเศรษฐกิจบนพื้นฐานของเงินลงทุนภาคเอกชนพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า 10% การค้าและการลงทุนต่างๆของประเทศไทยในยุคดังกล่าวมีกลุ่มธุรกิจกว่า 30 กลุ่มเป็นแรงขับเคลื่อนซึ่งล้วนแต่อาศัยการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ [8] ซึ่งยังผลให้ธนาคารสามารถเข้าถึงธุรกิจต่างๆครอบคลุมทั่วทุกสายธุรกิจ จากอดีตคนงานท่าเรือ จนมาถึงผู้บริหารธนาคารที่ใหญ่ที่สุดสามอันดับแรกของประเทศไทย ถือเป็นบทพิสูจน์ความสามารถในการบริหารธุรกิจได้เป็นอย่างดีของบุรุษนามว่า ชวน รัตนรักษ์ [16]

กลุ่มธุรกิจรัตนรักษ์ได้เข้าถือหุ้นในธุรกิจต่าง ๆ โดยมีธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นธุรกิจหลักของกลุ่ม ในปี พ.ศ. 2536 เมื่อชวนเสียชีวิต มีผู้ประเมินว่าเขาถือเป็นนักธุรกิจคนหนึ่งที่ถือหุ้นในกิจการต่าง ๆ มากที่สุด ซึ่งล้วนดำเนินการโดยใช้เงินลงทุนหมุนเวียนในบริษัทเป็นหลัก และยังเป็นกิจการที่มีหนี้สินน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย [17] ด้วยนโยบายการลงทุนที่ไม่ผาดโผนให้ความสำคัญกับรายละเอียดต่าง ๆ ส่งผลให้ธุรกิจในกลุ่มรัตนรักษ์มีผลการดำเนินการที่เข้มแข็ง มีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและสามารถก้าวผ่านช่วงวิกฤติทางการเงินเอเชียในปี พ.ศ. 2540 ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งทำให้กลุ่มรัตนรักษ์เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 3 ตระกูลมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ร่วมกับกลุ่ม โสภณพาณิช และกลุ่ม ล่ำซำ [18]

ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าว ส่งผลให้ธนาคารหลายธนาคารจำต้องปิดกิจการลงหรือตกอยู่ในการถือหุ้นใหญ่ของทุนต่างชาติ [18] ธนาคารกรุงศรีอยุธยาถือเป็นหนึ่งใน 4 ธนาคารที่เหลืออยู่และยังเป็นธนาคารของคนไทย โดยการบริหารงานยังอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มรัตนรักษ์ และได้พัฒนาการให้บริการและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องภายหลังมรสุมวิกฤติทางการเงินดังกล่าว โดยก่อนวิกฤติทางการเงิน (พ.ศ. 2539) ธนาคารฯ มีมูลค่าประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และได้เพิ่มสูงขั้นเป็น 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2556 [19] การลดจำนวนการถือครองหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยาของกลุ่มรัตนรักษ์ จากเดิมที่เคยถืออยู่ 35% [20] ลงเหลือ 25% [2] ในปี พ.ศ. 2550 นั้นเพื่อดำเนินการตามกฎบัญญัติของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2551 [21] หุ้นที่ต้องลดลงเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นส่วนหนึ่ง (น้อยกว่า 25%) ได้ถูกนำมาใช้ในการดึง GE Capital International Holdings Corporation เข้ามาเป็นพันธมิตร ซึ่ง GE Capital ลดอัตราส่วนในการถือหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยาอยู่จนต่ำกว่า 25% [22] [23]ซึ่งทำให้กลุ่มรัตนรักษ์ ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารฯ มาอย่างต่อเนื่อง [2]

ในปี 2541 กลุ่มธุรกิจ รัตนรักษ์ ประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ผ่านการขายหุ้นของกลุ่มบางส่วนให้กับบริษัท Holderbank (ต่อมารู้จักในนามบริษัท Holcim) [24] ซึ่งการพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นได้ให้ข้อมูลอย่างผิดพลาดว่าการขายหุ้นดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มทุนของธนาคารกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ดีหากศึกษาในข้อมูลรายละเอียดการขายหุ้นดังกล่าวจะทราบว่าในการขายหุ้นนั้นมีการระบุถึงเงื่อนไขว่าเงินทุนใดๆที่ได้จากการขายหุ้นดังกล่าวในบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือจากการเพิ่มทุนของกลุ่มรัตนรักษ์เองนั้นจะถูกนำไปใช้ในกิจการ ปูนซีเมนต์นครหลวง เท่านั้น ส่วนเงินทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับโครงสร้างหุ้นของธนาคารกรุงศรีอยุธยานั้นมาจากเงินทุนสำรองเท่านั้น [25] เปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2541 ซึ่งกลุ่มธุรกิจ รัตนรักษ์ ถือหุ้นประมาณ 50% [24] ของบริษัท ปูนซีเมนต์นตรหลวง จำกัด (มหาชน) แล้วในปี พ.ศ. 2556 กลุ่มธุรกิจ รัตนรักษ์ ถือหุ้น 47% ซึ่งคิดเป็นมูลค่าตลาดเท่ากับ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปราศจากหนี้สินที่มีสาระสำคัญ ส่วนบริษัท Holcim ถือครองหุ้นอยู่ 27.5% [2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชวน รัตนรักษ์ http://www.emporis.com/building/ploenchittower-ban... http://www.ft.com/intl/cms/s/3/d95e609c-a073-11e2-... http://mcot.listedcompany.com/misc/analyst_briefin... http://www.nationmultimedia.com/business/Bank-of-A... http://www.nationmultimedia.com/business/Ratanarak... http://www.siamcitycement.com/about/cor_profile/ac... http://www.siamcitycement.com/downloads/koobaan/20... http://www.culture.go.th/subculture9/images/storie... http://www.politicalbase.in.th/index.php/%E0%B8%8A... http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=...